การเลี้ยงปลาทับทิม

 


จากประวัติศาสตร์ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508   สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น  ได้ทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
      ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและ แพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า "ปลานิล"  (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี

          ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า "ปลานิลจิตรลดา" ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

       แต่แล้ว พันธุกรรมก็เริ่มกลับกลาย สีสรรค์ที่เคยดกดำ กลับแปรเปลี่ยน เป็นสีกระดำกระด่าง บางตัวก็ออกสีแดงเรื่อ ตัวไหนสีออกแดงเรื่อมากๆ เลยตั้งชื่อให้ใหม่เสียเลยว่า  "ปลานิลแดง"

     แต่แล้วการพัฒนาของสายพันธ์ก็ได้มีการคัดแยก DNA โดยมีบริษัทผู้รับการวิจัยนี้ไปคือ บริษัทเจริญโภคพันธ์ หรือที่เราเรียกว่า บริษัท "CP"
    ทางทีมงาน C.P ได้ทำการคัดเลือกสายพันธ์จากปลานิลมา 5 สายพันธ์มาผสมกัน คัดแต่ความเก่งในแต่ละด้านมารวมกัน เป็นพัธ์ใหม่เกิดขึ้น  ซึ่งในนั้นเป็นปลานิลจิตรดาที่ได้รับพระราชทาน อยู่ในนั้นด้วย 
 
  (การใช้สายพันธ์ จากบราซิล เป็นพันธ์ที่โตเร็ว  พันธ์ไต้หวัน เป็นพันธ์ที่ทนทานโรค พันธ์แอฟริกา ที่ให้สีแดง)

   ที่นี้หละ ได้ปลามาแล้ว คัดแต่ตัวแดงๆๆ จะเรียกปลานิลแดง ออกสู่ท้องตลาด ก็ดูไม่เหมาะกับความพากเพียรที่ได้ทุ่มเทค้นคิด จึงได้ขอพระราชทานชื่อ ปลานิลแดง จากองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้พระราชทานนามว่า
 "ปลาทับทิม"   .......นี่แหละที่มา


Share this video :

บทความที่ได้รับความนิยม

 
Support : |
Copyright © 2011-2012 อาชีพพารวย - All Rights Reserved
เข้าสู่ปีที่ 2 อาชีพพารวย เพื่อนคู่คิดนักเกษตร พ.ศ. 2555
เว็บไซต์เพื่อนเกษตร